ปัจจัยเสี่ยงการเกิดมะเร็ง

1139 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปัจจัยการเกิดมะเร็ง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง

เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายชนิดร่วมกันแต่พอจำแนกได้เป็น  ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกร่างกาย และปัจจัยเสี่ยงจากภายในร่างกาย


ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกร่างกาย
ซึ่งสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยสามารถจำแนกได้เป็นสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ได้แก่

          สารเคมี มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารก่อมะเร็ง เช่น เบนซิน เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว อะลูมิเนียม เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด เหล็กใยหิน (แอสเบสทอส) เสี่ยงต่อการเดมะเร็งเยื่อหุ้มปอดมะเร็งปอด มะเร็งปอด ถ่านหินเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น

         รังสี การได้รับรังสีเอ็กซ์ รังสีอุลตร้าไวโอเลตและกัมมันตภาพรังสีมาก ๆ มีผลต่อเม็ดเลือดทำให้เกิดความ เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งผิวหนัง มะเร็งเต้านม เป็นต้น

         ไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบีและซี ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับไวรัสเอดส์ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น

         พยาธิ เช่น พยาธิใบไม้ในตับ เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี

         อากาศเป็นพิษ จากยานพาหนะ และโรงงานอุตสาหกรรม เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ สารตะกั่ว สารกัมมันตภาพรังสี ก่อให้เกิด มะเร็งเม็ดเลือดและกระดูก เป็นต้น

         วิธีการดำเนินชีวิต ได้แก่ การสูบบุหรี่ เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งกกล่องเสียง มะเร็งภายในช่องปากและหลอดลม มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น การดื่มเหล้าเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งทางเดินอาหาร เป็นต้น การบริโภคอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ มะเร็งหลอดอาหาร เป็นต้น
 

ปัจจัยเสี่ยงจากภายในร่างกาย
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากติดตัวมาแต่กำเนิด โดยสามารถจำแนกได้เป็น

         กรรมพันธุ์ โรคทางมะเร็งที่เป็นกรรมพันธุ์มักพบตั้งแต่เด็ก (โดยทั่วไปมะเร็งจะเป็น หรือพบมากขึ้นเมื่อคนเรามีอายะมากขึ้น) ได้แก่ มะเร็งกระดูกบางชนิด มะเร็งจอตา มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม  นอกจากนี้ โรคพันธุกรรมบางโรค เช่น คนที่เป็นเผือกไวต่อแสงแดด เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง

         ระบบภูมิคุ้มกัน การบกพร่องของภูมิคุ้มกันทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้น

         ภาวะโภชนาการ ภาวะโภชนาการของร่างกายมีความสัมพนธ์กับสุขภาพและภูมิคุ้มกันโรค

         จิตใจและอารมณ์ ผู้มีจิตใจซึมเศร้า เศร้าโศก มีความเครียด มีความคับข้องใจ วิตกกังวลอยู่เป็นเวลานาน กระวนกระวายใจสูง หมดหวังในชีวิตสภาพจิตใจจะมีผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ความเครียดจะกดระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค และทำลายเซลล์ที่ผิดปกติซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ อาจจะมีผลต่อพัฒนาการของการเกิดโรคมะเร็ง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้